พ.อ. ศุภกิตติ ขัมพานนท์

     เทควันโดเป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติเกาหลีมีประวัติความเป็นมายาวนาน จนอาจกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์เทควันโด ก็คือ ประวัติศาสตร์ของชนชาติเกาหลีนั่นเอง เรื่องราวในอดีตที่เกี่ยวกับพัฒนาการขอเทควันโดเบ่งออกเป็น 4 ยุคสมัย ได้แก่ ยุดบรรพกาล, ยุคกลาง, ยุคใหม่ และยุดปัจจุบัน

 

1. เทควันโดยุคบรรพการ

     มนุษย์โดยธรรมชาติแล้วย่อมมีสัญชาติญาณในการปกป้องตนเองและเผ่าพันธ์ จึวพยายามที่จะพัฒนาความความสามารถในการต่อสู้ตลอดเวลา ในสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีอาวุธก็ต้องใช้การต่อสู้กันด้วยมือเปล่า และแล้วมนุษย์สามารถประดิษฐ์อาวุธขึ้นใช้แล้วก็ยังคงอาศัยการฝึกฝนการต่อสู้ด้วยมือเปล่าในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย นอกจากนี้ยังนำมาเป็นการแสดงความสามารถโอ้อวดกันในงานประเพณีต่าง ๆ เช่น การเฉลิมฉลองหลังฤดูเก็บเกี่ยว หรือในที่ชุมชนในโอกาศสำคัญอื่น ๆ เป็นต้น

 

ภาพประกอบจาก http://pracob.blogspot.com/2012/07/5.html

 

     ชนชาติเกาหลีสือเชื้อสายมาจากเผ่ามองโกล ซึ่งอพยพย้ายถิ่นจากใจกลางทวีปเอเชียมายังคาบสมุทรเกาหลีนานกว่า 2000 ปีมาแล้ว เอกลักษณ์อย่างนึงของชาวมองโกลก็คือ ความชำนาญและผูกพันกับการขี่ม้า, การใช้ชีวิตบนหลังม้า รวมถึงการต่อสู้บนหลังม้าด้วย เนื่องจากต้องเลี้ยวสัตว์และเดินทางไปในทุ่งหญ้าและพื้นที่อันทุรกันดารเป็นระยะทางไกล ๆ ทางตอนเหนืออยู่เสมอ ส่วนประชาชนในพื้นที่ทางตอนใต้อันอุดมสมบูรณ์กว่าได้ยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และทิ้งชีวิตบนหลังม้าไป สิ่งนี้เป็นปัจจัยให้พัฒนาการของวิธีการต่อสู้ของนักรบทางภาคเหนือ และภาคใต้มีความแตกต่างกัน ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

     ภูมิศาสตร์ของคาบสมุทรเกาหลีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งทางยุทธศาสตร์ เพราะเป็นสะพานเชื่อมและอยู่กึ่งกลางระหว่างแผ่นดินจีนทางตะวันตก, มองโกลทางเหนือ, รัสเซียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และหมู่เกาะญี่ปุ่นทางทิศใต้ ซึ่งต่างพยายามแผ่อำนาจและผลัดกันยึดครองแผ่นดินนี้อยู่เสมอ ประวัติศาสตร์เกาหลีจึงเต็มไปด้วยการรบเพื่อ ต่อสู้แย้งชิง และปกป้องบ้านเมืองของตนอยู่ตลอด

     ในยุกแรกเริ่มของอารยธรรมเกาหลี (ประมาณ 50 ปีก่อนคริสตกาล) นั้งปรากฏว่าได้มีการแบ่งแยกดินแดนนออกเป็น 3 อาณาจักร ได้แก่ โคกุลเยอ ทางเหนือ , เบคเจทางทิศใต้ และซิลลาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

 

 

อนาจักรทั้ง 3 ต่างแย่งก็พยายามแย่งชิงความเป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียว จึงพยายามสร้างกองทัพและฝึกฝนทหารของตนให้มีความเข้มแข็งอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โคกุลเยอ และซิลลา ได้สร้างกองทัพนักรบหนุ่มขึ้น เรียกว่า "ชูอิโซนิน" และ "ฮวารังโด" ตามลำดับ ซึ่งมีการฝึกการต่อสู้ด้วยมือและเท้า รวมถึงการต่อสู้ด้วยอาวุธนานาชนิด

     กล่าวถึงอาณาจักรโคกุลเยอทางเหนือ ซึ่งมีเขตแดนติดต่อกับจีนต้องพัฒนากำลังทหารไว้ป้องกันประเทศ นักรบในกองกำลัง "ซูอิโซนิน" นี้เรียกว่า "ซอนเบ" ซึ่งประวัติศาสตร์กล่าวว่าพวกซอนเบนี้จะอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า มีการศึกษาประวัติศาสตร์ ศิลปะต่าง ๆ นอกเหนือวิชาต่อสู้ และยังใช้เวลาในยามสงบช่วงพัฒนาบ้านเมืองด้วนการสร้างถนนและป้อมปราการต่าง ๆ วิชาการต่อสู้ของพวกซอนเบเรียกว่า "เท คเคียน" ซึ่งมีลักษณะเด่นในการใช้เท้าเตะ เนื่องจากการขี่ม้าจะต้องใช้มือควบคุมสายบังคับม้า และถืออาวุธและธนู จึงเน้นการใช้เท้าที่ว่างอยู่ในการต่อสู้และช่วงเรื่องการทรงตัว หลักฐานภาพวาดฝาผนังในสุสานโบราณหลายแห่งแสดงให้เห็นถึงการต่อสู้และทักษะต่าง ๆ ของเทคเคียน ซึ่งนอกจากจะใช้ในการรบแล้วยังเป็นท่าบริหารร่างกาย และเป็นเกมกีฬาที่นิยมประลองกันในโอกาศต่าง ๆ กันอีกด้วย

     ส่วนอาณาจักรชิลลาท่างตอนใต้ ก็ถูกรุกรานจากอณาจักรโคกุลเยอทางตอนเหนือ และอาณาจักรเบคเจทางตะวังตก จึงต้องเสริมสร้างกองทัพที่เข้มแข็งไว้เช่นกัน โดยเรียกนักรบหนุ่มของตนว่า "ฮวารัง" ซึ่งมีกฏระเบียบการปกครองและการฝึกฝนคล้ายคลึงกับซอนเบมาก การคัดเลือกชายหนุ่มเข้าเป็นฮวารังจะต้องมี การทดสอบฝีมือการต่อสู้ซึ่งได้แก่การฟันดาบ มวยปล่ำ ขี่ม้า และการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่เรียกว่า "ซูบัก" ซึ่งเน้นการใช้ทักษะของมือเป็นหลัก เนื่องจากชาวซิลลามีความผูกพันกับพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก วัดโบราณในเมืองเกียงจูจึงมีรูปปั้นทวารบาลเป็นยักษ์ (คึมกัง ย็อกซ่า) แสดงท่าต่อสู้ซึ่งมีท่ามือคล้ายคลึงกับเทควันโดในปัจจุบันมาก

      แม้มีรากฐานความเป็นมาแตกต่างกัน แต่ทั้ง เทคเคียน และซูบัก ก็เริ่มมีการผสมผสานกลมกลืนกันโดยเทคเคียนได้เผยแพร่จากอาณาจักรโคกุลเยอเข้ามาในอาณาจักรซิลลา เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 4 และได้รับความนิยมแพร่หลายไปสู่สามัญชนทั่วไป อาณาจักรซิลลาเริ่มมีความเข็มแข็งกว่าอาณาจักรอื่น ๆ โดยมีขุนพลฮวารังที่มีชื่อเสียงเช่น คิมยูซิน และ คิมชุนชู เป็นกำลังสำคัญในการรบเพื่อรวมอาณาจักรในคาบสมุทรเกาหลีเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จในปี ค.ศ. 676 (พ.ศ. 1219) และคงเป็นความปึกแผ่นไว้ได้นานเกือบ 300 ปี

 

2. เทควันโดยุคกลาง

      ในสมัยราชวงศ์คอร์โย ซึ่งปกครองเกาหลีต่อจากอาณาจักรซิลลา ในระหว่าง ค.ศ.918-1392 มีการพัฒนารูปแบบการฝึกเทคเคียนและซูบักอย่างเป็นระบบ และใช้ในการทดสอบเพื่อคัดเลือกทหารเข้าประจำการด้วยมีบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่แสดงว่าวิชาการต่อสู้ด้วยมือ และเท้าเปล่านี้ได้พัฒนาถึงขั้นเป็นอาวุธฆ่าคนในสงครามได้จริง ทักษะความสามารถในการต่อสู้ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในการเลื่อนยศและตำแหน่งของทหาร(จึงเป็นที่มาของการจัดระดับสายในเทควันโด คล้ายกับชั้นยศทหารในกองทัพ:ผู้เรียบเรียง) มีการบันทึกถึงระบบกติกาการต่อสู้คล้ายกับกีฬาในปัจจุบัน ในการทดสอบพละกำลัง ลียี่หมิน ใช้กำปั้นข้างขวาชกที่เสาและสามารถทำให้หลังคาสะเทือนจนกระเบื้องมุงหลังคาหล่นลงมาแตกกระจาย เขาสามารถชกทะลุกำแพงที่ก่อด้วยดินเหนียว และในการประลองเขาชกเข้าที่กระดูกสันหลังของคู่ต่อสู้ซึ่งทำให้ถึงกับเสียชีวิต จึงถือได้ว่าผู้ฝึกวิชาต่อสู้ด้วยมือเปล่าสามารถทำการต่อสู้เทียบเท่ากับการใช้อาวุธสังหารทีเดียว กษัตริย์ในราชวงศ์นี้ทรงโปรดการประลองต่อสู้เพื่อคัดเลือกทหารเป็นอย่างยิ่ง มีการจัดประลองตามหัวเมืองต่างๆที่เสด็จไปประพาสให้ทอดพระเนตรอยู่เป็นประจำ อย่างไรก็ตามในช่วงท้ายของราชวงศ์ได้มีการนำอาวุธปืนเข้ามาใช้ในกองทัพ ทำให้บทบาทของการประลองต่อสู้ด้วยมือเปล่าลดความสำคัญลงไปมาก

3.  เทควันโดยุคใหม่

     ในยุคนี้ราชวงศ์โชซันปกครองประเทศเกาหลีในปี ค.ศ.1392-1910 จากนั้นเกาหลีตกอยู่ใต้การปกครองของญี่ปุ่นจนถึงปี ค.ศ.1945 ราชวงศ์โชซันปกครองประเทศด้วยลัทธิขงจื๊อ จึงปฏิเสธพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ และให้ความสำคัญของศิลปะการต่อสู้น้อยกว่างานด้านวรรณกรรม การประลองฝีมือเพื่อคัดเลือกทหารเข้าประจำการก็ยังคงมีอยู่แต่ได้รับความสนพระทัยจากกษัตริย์น้อยลงบ้านเมืองจึงเริ่มอ่อนแอลง จนเมื่อเกาหลีถูกรุกรานจากญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1592 พระเจ้าเจียงโจ จึงได้รื้อฟื้นศิลปะการต่อสู้ขึ้นมาขนานใหญ่มีการจัดทำตำรามาตรฐานวิชาการต่อสู้เรียกว่า “มูเยโดโบ ทองจิ” ซึ่งในเล่มที่ 4 มีภาพประกอบและได้กล่าวอธิบายถึงการเคลื่อนไหวต่อเนื่องซึ่งมีลักษณะคล้ายกับท่ารำพูมเซในปัจจุบัน มีการสอนวิชาการต่อสู้ให้กับเด็กคล้ายกับเป็นกีฬาหรือการละเล่นชนิดหนึ่ง

     เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองประเทศเกาหลี การฝึกวิชาการต่อสู้เริ่มเป็นสิ่งต้องห้าม จึงต้องมีการแอบฝึกและมีการถ่ายทอดกันมาอย่างลับๆเฉพาะในหมู่ลูกหลานเท่านั้นจนเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1945 ประเทศเกาหลีจึงได้รับอิสรภาพอีกครั้ง แต่จากการที่ทางการญี่ปุ่นได้คุมขังและทรมานนักเทควันโดเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้สืบทอดวิชาการต่อสู้เหลือน้อยจนเป็นที่หวั่นเกรงกันว่าจะสาบสูญไป ทั้งญี่ปุ่นได้พยายามกลืนวัฒนธรรมเกาหลีด้วยการบังคับให้ชาวเกาหลีฝึกคาราเต้ และยูโดแทน

 

4.เทควันโดยุคปัจจุบัน

     ภายหลังจากที่ได้รับอิสรภาพจากญี่ปุ่น ได้มีความพยายามที่จะฟื้นฟูศิลปะการต่อสู้ของเกาหลีขึ้นมาใหม่ปรมาจารย์ ซองดุคคิ ได้แสดงวิชาเทคเคียน ให้ประธานาธิบดี ลีซึงมาน ชมในงานฉลองวันเกิด ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่ามีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากคาราเต้

    ในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการก่อตั้งสำนัก(โดจัง) ขึ้นหลายแห่งแต่ก็อยู่ได้อย่างไม่มั่นคงนักจนเมื่อเกิดสงครามเกาหลี และเกาหลีถูกแบ่งแยกเป็นสองประเทศ ได้แก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี(เกาหลีเหนือ)ซึ่งปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์แบบรัสเซีย และประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ซึ่งปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบสหรัฐอเมริกา สภาพเศรษฐกิจในเกาหลีใต้เริ่มฟื้นตัวบรรดานักประวัติศาสตร์และปรมาจารย์เจ้าสำนักต่างๆ โดยการนำของนายพลเชฮองฮี ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมเทควันโดแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้สำเร็จในปี ค.ศ.1954ในช่วงสั้นๆ จากปี ค.ศ.1961-1965 สมาคมได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อสมาคมเทซูโด (มาจาก เทคเคียน+ซูบัก)แต่ก็ได้เปลี่ยนกลับมาเป็นเทควันโดเช่นเดิมอีก และกีฬาเทควันโดเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายอีกครั้งมีการจัดการแข่งขันทั้งในระดับประถมศึกษา,มัธยมศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย รวมทั้งได้บรรจุในการฝึกทหารของกองทัพ ในสงครามเวียดนามทหารเกาหลีได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเทควันโดในการต่อสู้ระยะประชิดตัว จึงได้รับความสนใจจากนานาประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา คุณค่าของเทควันโดได้จึงเป็นที่ประจักษ์ในฐานะที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศเกาหลี วิชาเทควันโดจึงได้รับการยกย่องให้เป็นกีฬาประจำชาติ (คุคคิ เทควันโด)

     ในปี 1971 (พ.ศ.2514) ซึ่งจุดเด่นของเทควันโดนอกจากจะเป็นการฝึกฝนพละกำลัง ทั้งร่างกายและจิตใจแล้วยังเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาบุคลิกภาพให้แก่เยาวชนอีกด้วย ในปี ค.ศ.1972 รัฐบาลเกาหลีได้สถาปนาสำนัก “กุกกิวอน” ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการสอบขึ้นทะเบียนสายดำและ เผยแพร่เทควันโดไปทั่วโลก โดยมีดร.อุนยองคิม ผู้แทนรัฐบาลเป็นประธาน มีการจัดการแข่งขันในระดับต่างๆ มากถึง350 ครั้ง ในปีนั้นรวมทั้งการแข่งขันเทควันโดชิงแชมป์โลกด้วยนอกจากนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาของบุคลากรผู้ฝึกสอนเทควันโด จึงได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยเทควันโดโลก ขึ้นมาเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

     เทควันโดได้รับความนิยมเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกทั้งในหมู่ทหาร ตำรวจ และนักเรียนนักศึกษาในปี ค.ศ.1977 มีจำนวนสายดำในประเทศเกาหลีถึง 3,620,000 คน และอีก 160,000 คนทั่วโลกทีมนักแสดงเทควันโดสาธิตทีมชาติเกาหลี ได้มีส่วนสำคัญในการเผยแพร่กีฬาเทควันโดและเกียรติภูมิของประเทศเกาหลีให้เป็นที่รู้จักทั่วไป

     เมื่อวันที่ 28 พ.ค.1973 มีการประชุมผู้แทนสมาคมเทควันโดจากประเทศต่างๆทั่วโลกจำนวน 50 ประเทศ และมีมติให้ก่อตั้งสหพันธ์เทควันโดโลกขึ้น โดยมี ดร.อุนยองคิม เป็นประธานสหพันธ์อีกเช่นเดียวกันปัจจุบันมีประเทศสมาชิกถึง 157 ประเทศ (ข้อมูล พ.ศ.2547) (พ.ศ.2551 มี 184 ประเทศ)และยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สหพันธ์มีหน้าที่ดูแลการแข่งขันเทควันโดชิงแชมป์โลก ซึ่งจัดเป็นประจำทุกๆ 2 ปี และยังมีการจัดตั้งสหพันธ์เทควันโดแห่งเอเชีย และทุกทวีปซึ่งจะจัดการแข่งขัน ระดับภูมิภาคทุกๆ 2 ปี สลับปีกับการแข่งขันชิงแชมป์โลก นอกจากนั้นเทควันโดยังได้รับการรับรองจากสถาบันต่างๆดังนี้

- ค.ศ.1975 สหพันธ์เทควันโดโลกได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมสหพันธ์กีฬาสากล (GAISF)

- ค.ศ.1976 เป็นสมาชิกของสภากีฬาทหารโลก (CISM)

- ค.ศ.1979 ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการโอลิมปิคสากล

- ค.ศ.1982 ได้รับการบรรจุเป็นกีฬาสาธิตในโอลิมปิคเกมส์ (แข่งขันที่กรุงโซล 1988)

- ค.ศ.1984 ได้รับการบรรจุเป็นกีฬาสาธิตในเอเชียนเกมส์ (แข่งขันที่กรุงโซล 1986)

- ค.ศ.1979 ได้รับการบรรจุเป็นกีฬาบังคับในโอลิมปิคเกมส์ (แข่งขันที่ซิดนีย์ 2000)

ซึ่งนับเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับกีฬาที่เพิ่งเผยแพร่ไปทั่วโลกได้เพียง30 ปีเท่านั้น

     ในปี 2004ได้มีการเปลี่ยนแปลงอันสำคัญได้แก่ตำแหน่งประธานสหพันธ์เทควันโดโลก และสำนักกุกกิวอน เนื่องมาจาก ดร. อุน ยองคิม ไม่สามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ นับเป็นการสิ้นสุดยุคสมัยอันยาวนานของท่าน โดยประธานสหพันธ์เทควันโดโลกคนปัจจุบันได้แก่ นาย ชุงวอนโชว และประธานสำนักกุกกิวอนคนปัจจุบันได้แก่ ปรมาจารย์ อึมวุนเกียว สายดำดั้ง 10 (เลื่อนขึ้นมาจากรองประธานสำนักกุกกิวอน)

 

5. เทควันโดในประเทศไทย

     ประเทศไทยเริ่มรู้จักเทควันโดเมื่อประมาณ พ.ศ.2508 โดยคณาจารย์จากสาธารณรัฐเกาหลีใต้ จำนวน 6 ท่านเดินทางมาเปิดสอนที่ วาย เอ็ม ซี เอ , ราชกรีฑาสโมสรกรุงเทพ และในฐานทัพทหารสหรัฐอเมริกา ที่ อ.ตาคลี จ.นครราชสีมา จ.อุดรธานี จ.อุบลราชธานี และ อ.สัตหีบ แต่เมื่อกองทัพสหรัฐอเมริกาถอนตัวจากประเทศไทย อาจารย์ทั้งหมดก็ย้ายออกไปด้วย จนกระทั่ง พ.ศ. 2516 อาจารย์ ซอง คิ ยอง จึงเดิน ทางมาเปิดสอนที่ราชกรีฑาสโมสร และในปี พ.ศ.2519 ได้ทำการเปิดสำนักขึ้นที่โรงเรียนศิลปะป้องกันตัวอาภัสสา โดยการสนับสนุนของคุณมัลลิกา ขัมพานนท์ ผู้ซึ่งเห็นคุณค่าของวิชานี้ ที่มีต่อสุขภาพและสังคม ส่วนรวม กิจการได้เจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ จนได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2521มีการก่อตั้งสมาคมส่งเสริมศิลปะป้องกันตัวเทควันโด และได้เป็นสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2528 เข้าเป็นมาชิกสหพันธ์เทควันโดโลก สหพันธ์เทควันโดแห่งเอเชีย สหพันธ์เทควันโดอาเซียนและอยู่ในสังกัดของการกีฬาแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย

cpr certification online
cpr certification online
cpr certification onlineNational CPR associationcpr certification online

ติดต่อเรา

"elfsight-app-6413adf2-0e17-4402-a8a6-55b8f8ba829e">
Go to top
© copyright 2017 arpassa.com